31 ตุลาคม 2558

ไม่ขาย ไม่ขาดทุน จริงหรือหลอก

ขึ้นชื่อว่าการลงทุน ย่อมไม่แปลกที่ในบางครั้งจะต้องมีทั้งการได้เงินและเสียเงิน หุ้นมันอาจจะขึ้นตามที่เราคิด หรือหุ้นอาจจะผิดทางในแบบที่เราคาดไม่ถึง ถ้าหากทำกำไรได้ นั่นไม่ใช่ปัญหาครับ แต่ปัญหาคือถ้าเราซื้อหุ้นแล้วมันดันลงล่ะ เราจะถือต่อดีไหม ?

ถ้าอิงตามทฤษฎีของการลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิค แน่นอนว่าก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้นทุกครั้ง นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องกำหนดจุดออกอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะขายเมื่อหลุดโลว์เดิมหรือเมื่อหลุดเส้นค่าเฉลี่ยก็ได้ แต่ "ในบางครั้ง" ที่เราคัทลอสหุ้นออกไป หุ้นกลับขึ้นต่อได้และสูงกว่าเดิมด้วย ขายหมูไปตัวเบ้อเริ่ม และนั่นเป็นที่มาของปัญหาข้างต้นครับ "จะขายหรือจะถือต่อดี มันอาจกลับขึ้นไปสูงกว่าเดิมก็ได้นะ"

จริงอยู่ที่การขายหมูมันน่าเจ็บใจพอๆ กับติดดอย แต่ลองพิจารณาดีๆ นะครับ มันจะมีสักกี่ครั้งกันที่ขายแล้วหุ้นดันขึ้นต่อ ดีไม่ดีอาจมีแค่ 1/10 ของการคัทลอสเท่านั้นที่ราคาหุ้นดันไปต่อได้ เท่ากับว่าในการเทรดแต่ละครั้งที่ผิดทาง นักลงทุนจำเป็นต้อง Bet โอกาสที่จะไม่ขาดทุนเพียง 10% เท่านั้น อีก 90% ซึ่งเป็นโอกาสมี่จะขาดทุนที่มีความน่าจะเป็นสูงกว่ามาก มันคุ้มมากพอรึเปล่าที่เราจะเสี่ยงกับโอกาสกำไรแค่ 1 ใน 10  ขณะที่หุ้นตัวอื่นมีโอกาสทำเงินเยอะกว่ามาก




นอกจากนี้ การที่ราคาหุ้นหลุดเส้นตายที่เรากำหนดไว้แต่ดันไม่ขาย ทุกราคาต่อจากนั้นล้วนแต่เป็นราคาที่ "น่าอึดอัด" ทั้งสิ้น สมมติเข้าซื้อหุ้นตัวนึงที่ 10 บาทและจุดออกคือ 9 บาท พอถึงเวลาจริงๆ นักลงทุนผู้โชคดีคนนั้นกลับดื้อดึงไม่ขาย หากต่อมาราคามันเหลือ 8 บาท ฟันธงได้เลยว่าเขาคนนั้นก็จะไม่ขายอีกเช่นกัน เพราะราคามันลงมาลึกเกินกว่าจะรับไหว และต่อมาถ้าราคาวิ่งกลับไป 9 บาท เขาก็จะลุ้นให้มันวิ่งขึ้นต่ออีกหน่อยเช่นกัน (จะได้ขาดทุนไม่เยอะมาก) พอเห็นความหมายของคำว่าน่าอึดอัดทุกราคาแล้วรึยังครับ ?

27 ตุลาคม 2558

GoBear : เมื่อเป้าหมายหลักของธุรกิจไม่ใช่กำไร

วันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมเองได้รับเชิญไปงานเปิดตัวเว็บไซต์น้องใหม่นามว่า GoBear.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลประกันภัยรถยนต์และประกันเดินทางมาไว้ในเว็บนี้เว็บเดียว ในแวบแรกผมเองงงนิดๆ ว่าทำไมมันต้องเป็นหมี แต่พอเข้าใช้งานเว็บไปสักพัก เรื่องที่โดนใจผมอย่างแรงก็คือ "ความง่าย" ในการใช้งาน ง่ายอย่างเหลือเชื่อเลยด้วย




หากผู้ใช้ต้องการหาประกันสักหนึ่งกรมธรรม์ ก็แค่เข้าหน้าเว็บพร้อมกับเลือกรุ่นรถที่เราใช้อยู่ เพียงเท่านี้ประกันที่ตรงกับความต้องการจะเรียงขึ้นมาเป็นตับ ยังไม่พอครับ เว็บโกแบร์มีระบบจัดคะแนนให้เราตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้นด้วย บางกรมธรรม์เพิ่มเงินอีกแค่ไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้ความคุ้มครองเพิ่มขึ้นอีกหลายพันก็มี

นี่เองเป็นเหตุผลในการสร้างเว็บไซต์ GoBear ของผู้ก่อตั้งครับ เป้าหมายของเขาก็คือ "ให้คนทั่วไปซื้อประกันได้ในราคาดีที่สุดและเหมาะกับตัวเองมากที่สุด" ไม่ต้องกลัวคนขายยัดเยียด ไม่ต้องกลัวว่าจะได้ประกันไม่ตรงสเป็ก เพราะเว็บนี้เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาในจุดนั้น

23 ตุลาคม 2558

ต้องฉลาดแค่ไหนถึงจะเป็นนักลงทุนที่เก่งได้

ว่ากันว่าความรู้คืออาวุธที่ทรงพลังที่สุดในแทบจะทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน รวมถึงการลงทุนด้วย ใช่ครับ ผมไม่เถียงเลยว่าความรู้มีประโยชน์มหาศาลในสนามรบแห่งนี้ แต่ต้องรู้เท่าไหนถึงจะเพียงพอล่ะ ?





ก่อนอื่นเรามาพิจารณาความจริงข้อนี้กันก่อน "IQ ที่สูงไม่ได้ทำให้เป็นนักลงทุนที่ดีได้ครับ" ตอนนี้ในตลาดหุ้นบ้านเรามีนักลงทุนราวๆ 2-3 แสนคน และแน่นอนว่าหลายๆ คนในนั้นต้องมีคนฉลาดอยู่แล้ว แต่อย่างที่ทุกท่านทราบ มีนักลงทุนเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่จะอยู่รอดและทำเงินได้ และผู้อ่านเองก็อาจเคยเจอคนรอบตัวที่เป็นหมอหรือวิศวกรขาดทุนมาบ้างแล้ว เห็นได้ชัดว่ากำไรจากการลงทุนไม่ได้แปรผันตรงกับ IQ สักเท่าไหร่เลย (ที่ยกตัวอย่างสองอาชีพนี้ไม่ใช่เพราะมีอคตินะครับ แต่เพราะการที่จะทำงานเหล่านี้ได้แปลว่าคนๆ นั้นจะต้องมีความฉลาดที่มากกว่าค่าเฉลี่ย)


ซึ่งนั่นถือเป็นข่าวดี เพราะเท่ากับว่าใครก็ตามที่ต้องการทำเงินจากตลาด ไม่จำเป็นจะต้องฉลาดในระดับที่ไม่อาจหาใครเทียบได้ แต่แน่นอนว่าความรู้เบื้องต้นก็ควรจะมีอยู่บ้าง อย่างเช่นพีอีคืออะไร อัตราส่วนสภาพคล่องคืออะไร Gab คืออะไร อย่างนี้เป็นต้น

20 ตุลาคม 2558

ทำไม P/BV จึงสะท้อนมูลค่าได้ดีกว่า PE

PE หรือราคาเทียบกับกำไรต่อหุ้น เป็นหนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยมที่นักลงทุนมักใช้กันบ่อยๆ เนื่องจากมันเป็นค่าที่หาได้ง่าย สะดวกในการใช้ รวมถึง "วิเคราะห์ตามตำรา" ได้ง่ายที่สุดอีกด้วย โดยการดูตามตำราในที่นี้ก็คือ หุ้นตัวไหนมี PE สูง จะเป็นหุ้นที่แพง และหุ้นตัวไหนที่ PE ต่ำ จะเป็นหุ้นที่ถูก

ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ในบางเวลานั้นค่า PE เพียงอย่างเดียวก็สามารถวิเคราะห์หุ้นได้อย่างเฉียบขาดและทำเงินจากมันได้ อย่างเช่นในปี 2008 ที่หุ้นหลายตัวต่างก็มี PE ต่ำทั้งนั้น และราคาก็พุ่งขึ้นสูงหลายร้อย % ในปัจจุบัน บางตัวอาจถึงขั้นเป็น "หุ้นสิบเด้ง" ตามแบบฉบับของ ปีเตอร์ ลินช์ ด้วยซ้ำไป

แต่อย่างที่ทุกท่านทราบ ด้วยภาวะตลาดในปัจจุบันที่ผันผวนและคาดเดาไม่ได้ บางครั้งค่า PE ก็อาจจะเอาไม่อยู่ จึงจำเป็นต้องดูเพิ่มอีกหนึ่งอัตราส่วนที่สำคัญแต่ไม่ค่อยมีคนใช้นัก นั่นคือ P/BV


P/BV หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี มีสูตรในการคำนวณคล้ายกับ PE แต่จะเปลี่ยนจาก E (Earning per Shares) มาเป็น BV (Book Value) แทน และวิธีการดูอย่างง่ายที่สุดก็คือ หุ้นตัวไหนมีค่า P/BV สูง นั่นคือหุ้นที่แพง และตัวไหนค่า P/BV ต่ำ นั่นคือหุ้นที่ถูก

11 ตุลาคม 2558

สมมติขำๆ ซื้อหุ้นปุ๊ป ติด SP ปั๊ป มันจะเป็นยังไงกันนะ

อย่างแรกคือเราคงรู้สึกโชคร้ายแน่ๆ ที่ไม่สามารถขายหุ้นตัวนั้นได้อีกต่อไป (กลายเป็น VI จำเป็นโดยปริยาย) อย่างที่สอง เราก็จะไปอ่านทุกอย่างเกี่ยวกับบริษัทนั้นเพื่อความสบายใจ ทั้ง 56-1, รายงานประจำปี, งบการเงิน และทุกอย่างที่หาได้ แต่ด้วยความที่เป็นหุ้น SP หรือหุ้นที่โดนถอดออกจากตลาด นั่นแปลว่าสิ่งที่เป็นพื้นฐานของกิจการอาจไม่สวยเท่าไหร่นัก ขาดทุนสะสมเอย ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบเอย กลับกลายเป็นว่ายิ่งอ่านยิ่งเครียดกว่าเดิม (ฮา)

นี่ขนาดเราแค่สมมติเองนะครับเนี่ย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันอาจกดดันกว่านี้อีกมาก เพราะการที่หุ้นตัวหนึ่งจะโดนถอดออกจากตลาดได้ อาจหมายถึงบริษัทนั้นอยู่ในสภาพ ?โคม่า? จนต้องกลับไปฟื้นฟูตัวเองพักใหญ่ๆ และอย่างที่เรารู้ ผลลัพธ์ของอาการโคม่าจะมีอยู่ 3 แบบเท่านั้น 1. รอด 2. โคม่าต่อไป และ 3. ตาย !


แน่นอนว่ามันเสี่ยง แต่ในความเสี่ยงนั้นมันก็มี "ของดี" ซ่อนอยู่เหมือนกันนะ

ยังจำได้รึเปล่าครับ ราว 3-4 เดือนก่อนมีหุ้นตัวนึงชื่อ PK ได้กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง ก่อนหน้านี้หุ้น PK ถูกถอดออกจากตลาดไปช่วงกลางปี 2553 โดยราคา ณ ตอนนั้นอยู่ที่ 0.40 บาทต่อหุ้น และนี่คือหน้าตาของงบการเงินบริษัทช่วงเวลานั้นครับ (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552)


Click image for larger version

Name: p025.png
Views: 1
Size: 12.1 กิโลไบต์
ID: 215633


อย่างที่เราเห็น ส่วนของผู้ถือหุ้น PK ติดลบกว่า 1,030 ล้านบาท พร้อมด้วยขาดทุนสะสมที่สูงถึง 1.6 พันล้าน ใครก็ตามที่เข้าไปซื้อหุ้นตอนราคา 0.40 บาท หากพิจารณาจากงบแล้วดูยังไงก็ไม่น่ามีความหวัง คนที่ถือหุ้นอยู่คงกระอักกระอ่วนใจไม่น้อยเลย กราฟก็ดูไม่ได้ด้วย ถูกต้องรึเปล่าครับ ?

7 ตุลาคม 2558

ทฤษฎีร้านหนังสือกับตลาดหุ้น

“วิกฤติตลาดหุ้น” แน่นอนว่าสิ่งนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดถ้าตัวเองไม่รู้ตัวแน่ๆ จริงรึเปล่าครับ ? แต่ผมมั่นใจว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินทฤษฎีขำๆ เกี่ยวกับร้านหนังสือกันมาบ้าง ที่กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่หนังสือหุ้นติด Best Seller หรือเป็นหนังสือแนะนำประจำร้าน เมื่อนั้นคือจุดสูงสุดของตลาดหุ้นแล้ว


ผมเองไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ในตอนแรก แต่พอมานึกดูดีๆ แล้ว ช่วงที่ตลาดขึ้นไป Peak สุดคือราวๆ 1,615 จุด ร้านหนังสือหลายสาขามากจะต้องมีหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนติด 1 ใน 10 ของ Best Seller  และในส่วนของหนังสือแนะนำ (จะจัดอยู่ตรงหน้าร้าน อารมณ์ประมาณว่าเดินเข้ามาปุ๊ปจะต้องเจอเล่มนี้ปั๊ป) ก็จะมีหนังสือหุ้นวางเรียงเป็นตับเช่นกัน ซึ่งหลังจากนั้นก็อย่างที่ทุกท่านทราบ ตลาดหุ้นบ้านเราโดนถล่มเละ

5 ตุลาคม 2558

การขาดทุนที่ถูกต้อง

ตอนที่เรายังเป็นเด็ก สิ่งที่จะคอยประเมินเราทุกเทอมว่าเราเรียนเก่งหรือไม่เก่ง นั่นก็คือเกรด, เวลาดูการแข่งขันกีฬาต่างๆ คะแนนจะเป็นตัววัดว่าใครคือผู้ชนะ, หรือการจัดอันดับว่าใครที่รวยที่สุด เราก็จะวัดจากจำนวนเงินที่เขามีอยู่ ดูเหมือนว่าสภาพแวดล้อมในสังคมจะทำให้เราเป็นคนที่ตัดสินแทบจะทุกอย่าง ว่าอะไรกันคือถูก อะไรกันคือผิด แน่นอนครับ มันรวมถึงการลงทุนด้วย

และสิ่งที่คนจำนวนมากนิยมใช้เพื่อประเมินการลงทุนในแต่ละครั้ง นั่นก็คือการดูว่าได้กำไรหรือขาดทุนนั่นเอง

ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่า สมมติวันนึงเราเทรดแล้วขาดทุน คำถามคือเราคิดผิดใช่รึเปล่า ? แล้วถ้ามันเป็นการขาดทุนเพราะเราขายเนื่องจากราคาหลุดจุด Stop Loss  มันจะยังเป็นเพราะเราคิดผิดอยู่อย่างนั้นเหรอ ?  ถ้าอย่างนั้นก็น่าคิดแล้วล่ะครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าในการลงทุนนั้นจุดตัดขาดทุนคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย นั่นแปลว่าการตัดสินนักลงทุนสักคนนึงว่าเค้าถูกหรือผิด มันวัดไม่ได้จากกำไรขาดทุนแน่ๆ

2 ตุลาคม 2558

เมื่อหุ้นปันผลมีความเสี่ยง

ฟังแล้วอาจดูย้อนแย้งแบบแปลกๆ เพราะปกติแล้วสิ่งที่เราเรียกว่าเงินปันผลนั้น โดยมากแล้วกิจการที่จะสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ มักจะมีความมั่นคงอยู่ในระดับนึงพอสมควร ยิ่งสำหรับหุ้นตัวใดก็ตามที่มี Dividend Yield สูงๆ มันอาจกลายเป็น "ส้มหล่น" ให้นักลงทุนเข้าไปเก็บเกี่ยวได้อย่างง่ายดาย


ถ้าอย่างนั้นเราลองมาคิดอีกนิดดีกว่า ทำไมหุ้นตัวนึงถึงมี Dividend Yield สูงๆ ได้ล่ะ หากมันเป็นของดีมีคุณภาพจริง ส้มหล่นที่ว่ามันจะมาถึงมือเราง่ายๆ เลยเหรอ ? หรือมันอาจกลายเป็น "ส้มเน่า" ไปแล้วกันแน่นะ



ข้อดีของหุ้นปันผลสูงนั้น คร่าวๆ ก็คือ มันเป็นเครื่องมือสร้างกระแสเงินสดได้ดีเยี่ยม และโดยมากแล้วกิจการเหล่านั้นมักจะมั่นคงพอสมควร ส่วนรายละเอียดแบบเจาะลึก ผมว่าผู้อ่านสามารถหาได้อีกมากมายตามหนังสือหรือในอินเตอร์เน็ต.. แล้วข้อเสียล่ะ ข้อเสียของหุ้นจ่ายปันผลสูงนั้นมีอะไรบ้าง ? ที่ผมสรุปได้ก็มีอยู่สามข้อครับ