27 กุมภาพันธ์ 2558

วิธีการคำนวณต้นทุนในการซื้อหุ้น

ตามปกติแล้วจะมีเพียงแค่ไม่กี่คนหรอกครับที่ซื้อหุ้นแบบ "ตูมเดียว" ไม่แบ่งไม้ซื้อเลย (หนึ่งในนั้นคือผม) แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีระบบการลงทุนที่ดีพอ มักจะใช้วิธีการ "ทยอยซื้อ" ทีละไม้ และไม่ต้องพูดถึงคนที่มีทุนหนาครับ การทยอยซื้อหุ้นทีละไม้จำเป็นมากทีเดียว ไม่งั้นสมมติเรามีเงินสักล้านนึง แล้วเหมา Offer ไปสักสองช่อง รายย่อยคงแตกตื่นกันพอดี

ทีนี้ในแต่ละไม้ที่เราซื้อเนี่ย ไม้แรกมันก็ยังดีอยู่หรอกครับ แต่พอเริ่มมีไม้ที่สอง สาม หรือสี่ สิ่งนึงที่มันจะเปลี่ยนไปในพอร์ตโฟลิโอ นอกจากจำนวนหุ้นที่เราจะมีเพิ่มขึ้นแล้วก็คือ "ต้นทุนต่อหุ้น" นั่นแหละที่เปลี่ยนไป ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันคำนวณยังไง ผมจึงถือโอกาสนี้บอกสูตรการคำนวณเลยดีกว่า เผื่อวันหลังถ้าถัวซื้อหุ้นเพิ่มจะได้คำนวณต้นทุนเองได้

26 กุมภาพันธ์ 2558

สรุปแล้ววีไอหรือเทคนิคดีที่สุด !?

หลังจากที่ผมอ่านหนังสือ "กลยุทธ์การเก็งกำไร" จบไปเมื่อสองสามวันก่อน ยอมรับเลยว่าในบทท้ายๆ ของหนังสือเล่มนี้ได้ "แขวะ" การลงทุนระยะยาวซะยับเลย

ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ให้เหตุผลว่า คนที่ลงทุนระยะยาวนั่นแหละคือนักพนันตัวยง เพราะการคาดการณ์ราคาหุ้นวันพรุ่งนี้ก็แทบเป็นไปไม่ได้ แล้วนับประสาอะไรกับการคาดการณ์อนาคตของหุ้นในอีกสิบปีข้างหน้าล่ะ ?

ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีแค่การลงทุนแบบ VI เท่านั้นที่โดนแขวะ เทคนิคอลก็โดนไม่ใช่น้อยครับ วีไอสายดำบางคนถึงขนาดมองว่ามันคือเรื่องที่ไร้เหตุผลมากๆ ถ้าเราจะลงทุนเพียงเพราะ "เชื่อ" ราคาหุ้นในอดีต

ถ้างั้นคำถามคือ ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายถูก ?

เรามาจับประเด็นของแต่ละแนวทางก่อนดีกว่า การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (หรือการถือยาวก็แล้วแต่) นั้นจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า "มูลค่าที่แท้จริง" หรือมีราคาที่สมเหตุสมผลกับผลกำไรที่กิจการอาจทำได้ในอนาคต นี่คือการลงทุนในมุมมองของการร่วมทำธุรกิจ

ส่วนด้านของเทคนิคอลนั้นจะลงทุน (หรือเก็งกำไร) โดยมีความเชื่อที่ว่าราคาหุ้นสามารถขึ้นไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่ยังมี "สัญญาณบางอย่าง" มาสนับสนุน เช่น ราคาหุ้นยังยืนอยู่เหนือ EMA 10 ได้, ADX ยังไม่อ่อนแรง ฯลฯ นี่คือประเด็นคร่าวๆ ของการลงทุนทั้งสองแบบ

และผมจะใช้กราฟของหุ้นตัวนึงมาเป็นตัวตัดสินว่าใครดีกว่าใครกันแน่ นี่คือกราฟหุ้นของ GENCO