คุณจะเชื่อตามชื่อของบทความนี้หรือไม่ หากคนที่พูดประโยคข้างต้นนี้เป็นลุงแก่ๆ คนนึงที่อายุเกือบครบรอบ 9 ทศวรรษ พักอาศัยอยู่ในบ้านที่เล็กมากเมื่อเทียบกับเพื่อนๆ ที่มีฐานะใกล้เคียงกัน ขับรถมือสอง แถมวันๆ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรนอกจากเล่นเกมไพ่กับเนิร์ดคอมพิวเตอร์อีกคนหนึ่ง มันดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่เลยที่เขาจะบอกว่ากองทุนดัชนีจะสามารถชนะผู้จัดการกองทุนระดับพระกาฬแทบทั้งหมดได้
แต่ลืมบอกไป ชายคนนั้นเกิดวันที่ 30 สิงหาคม ปี 1930 และเขาชื่อวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่สำคัญเค้าไม่ได้บ้า สติสัมปชัญญะครบถ้วน รวยอีกด้วยนะ คำถามครับ คุณผู้อ่านจะยังเชื่อสิ่งที่เขาบอกอยู่รึเปล่า
16 พฤษภาคม 2559
30 เมษายน 2559
เราอ่านหนังสือหุ้นไปเพื่ออะไร
ฟังดูย้อนแย้ง
เพราะทุกครั้งที่มีคนรุ่นใหม่ไฟแรงอยากจะเป็นนักลงทุนผู้ร่ำรวย
สิ่งแรกที่ผมจะแนะนำเสมอเลยก็คือ หนังสือ อ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะอ่านได้
เพราะในช่วงเริ่มต้น
ไม่มีใครหรอกครับที่รู้ไปซะทุกอย่างหรือเทรดจนตั้งตัวได้ในเวลาแค่ปีเดียว
แต่ด้วยความเคารพ ผมเองก็ไม่ได้อ่านหนังสือสักเล่มก่อนเข้าตลาด
และเจ๊งด้วยเรื่องง่ายๆ อย่างการไม่รู้จัก Bid Offer ควายตัวเบ้อเริ่ม
หนังสือมีประโยชน์ครับ
แต่ทำไมผมถึงตั้งชื่อจั่วหัวยั่วยวนโทสะสำนักพิมพ์ทั้งหลายซะอย่างนั้น
แม้ปัจจุบันจำนวนหนังสือหุ้นจะยึดอาณาเขตของชั้นหนังสือไปซะหลายชั้น
แต่เราก็ยังสามารถแบ่งมันได้เป็นสองหมวดหลักนะครับ
แบบแรกคือหนังสือหุ้นที่สอนสิ่งที่จับต้องได้ (งบการเงินดูยังไง ตีกราฟอย่างไร)
กับแบบที่สอง คือสอนในเรื่องของทัศนคติ หรือเรียกในอีกชื่อที่ดูมีคุณค่ากว่าก็คือ Mind
Set
สำหรับหนังสือหุ้นในหมวดแรก
แทบไม่ต้องคิดเลยว่าอ่านไปทำไม
เพราะถ้าไม่อ่านก็ไม่ต่างอะไรกับนักรบตัวเปล่าที่วิ่งไปหมายจะคว่ำรถถัง
มันเป็นไปไม่ได้นอกซะจากว่าคุณผู้อ่านจะเป็น The Hulk แต่ถ้าไม่ใช่
ก็อ่านเถอะครับ เพราะวิธีการและเทคนิคต่างๆ
มันก็เปรียบได้กับเครื่องมือที่ใช้ขุดหาทองคำจากตลาดหลักทรัพย์ดีๆ นี่เอง
29 มีนาคม 2559
1 ปี 2 เดือน 13 วัน.. SVI ก็กลับมาที่ 6 บาท
หลังจากผ่านพ้นไปกว่า 5 ชั่วโมง เปลวไฟก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดับลงง่ายๆ เสียงท่อลมที่ระเบิดดังสนั่นเป็นระยะๆ ทำให้ทั้งนักผจญเพลิงและผู้เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างสุดความสามารถ เพราะทุกวินาทีที่เสียไปในกองไฟ เท่ากับว่าเงินแต่ละบาท แบงค์สีเทาแต่ละใบ ก็กำลังมอดไหม้ไปเช่นกัน
แม้จะยังไม่มีใครทราบตัวเลขที่แน่นอนนัก แต่หลายคนต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้าน รวมถึงกระทบกำลังการผลิตของบริษัทนี้ด้วย
บริษัทที่มีชื่อว่า SVI ทุกท่านยังจำได้ใช่ไหมครับ ?
ในวันต่อมา (12 พฤศจิกายน 2557) ราคาหุ้นของ SVI ก็ร่วงอัดฟลอร์อย่างรุนแรง จากเดิมที่ราคา 6.05 บาทเมื่อวันก่อน ผ่านไปวันเดียวราคาเหลือเพียงแค่ 4.24 บาทเท่านั้น พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายกว่า 700 ล้านหุ้น
ใครกันล่ะที่ขาย ? ไม่ใช่เพียงแค่นักลงทุนรายย่อยอย่างเราๆ ท่านๆ เพียงอย่างเดียวครับ แม้กระทั่งนักลงทุนรายใหญ่ก็ตาม มีคนที่ต้องยอมทิ้งหุ้นในวันนั้นและสูญเงินกว่า "สิบล้าน" ภายในชั่วข้ามคืน แถมไม่ใช่แค่คนเดียวนะครับ รายใหญ่และเซียนหลายคนเช่นกันที่ต้องยอมขายมันทั้งน้ำตา
แม้จะยังไม่มีใครทราบตัวเลขที่แน่นอนนัก แต่หลายคนต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้าน รวมถึงกระทบกำลังการผลิตของบริษัทนี้ด้วย
บริษัทที่มีชื่อว่า SVI ทุกท่านยังจำได้ใช่ไหมครับ ?
ในวันต่อมา (12 พฤศจิกายน 2557) ราคาหุ้นของ SVI ก็ร่วงอัดฟลอร์อย่างรุนแรง จากเดิมที่ราคา 6.05 บาทเมื่อวันก่อน ผ่านไปวันเดียวราคาเหลือเพียงแค่ 4.24 บาทเท่านั้น พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายกว่า 700 ล้านหุ้น
ใครกันล่ะที่ขาย ? ไม่ใช่เพียงแค่นักลงทุนรายย่อยอย่างเราๆ ท่านๆ เพียงอย่างเดียวครับ แม้กระทั่งนักลงทุนรายใหญ่ก็ตาม มีคนที่ต้องยอมทิ้งหุ้นในวันนั้นและสูญเงินกว่า "สิบล้าน" ภายในชั่วข้ามคืน แถมไม่ใช่แค่คนเดียวนะครับ รายใหญ่และเซียนหลายคนเช่นกันที่ต้องยอมขายมันทั้งน้ำตา
12 มีนาคม 2559
ธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย
ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่ไม่รู้จักเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) ต่อให้เป็นนักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐานก็ตาม เพราะเจ้าเครื่องมือตัวนี้ นอกจากจะมีคนใช้เป็นจำนวนมาก การทำความเข้าใจในที่มาของเส้นแต่ละเส้นก็ไม่ได้ยากเหมือนเครื่องมือตัวอื่น รวมถึงวิธีการใช้งานแบบคร่าวๆ ก็ไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย
เพราะคอนเซปของมันก็คือ ถ้าราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย มันย่อมมีโอกาสขึ้นมากกว่าลง และยิ่งเส้นค่าเฉลี่ยนั้นมีค่ามากเท่าไหร่ก็ตาม (เช่น คำนวณจากราคาปิดย้อนหลัง 200 วัน) มันก็เป็นอะไรที่ Strong Trend สุดๆ ยากที่ราคาหุ้นจะต่ำลงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยนั้นได้
ง่ายมั้ยครับ ? บอกเลยว่าง่ายถ้าเราดูแค่นี้ แต่ในการใช้งานจริง มันดันมีมากกว่านั้นเยอะ
1. เส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้แม่นอย่างที่คิด
จริงอยู่ที่ผลการทดสอบระบบการเทรดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว พบว่าในระยะยาวแล้วอาจได้กำไรสูงถึง 15% ต่อปีโดยเฉลี่ย แต่ย้ำครับว่าระยะยาว แน่นอนว่าในภาพสั้นๆ การขาดทุนย่อมมีโอกาสเกิดขึ้น ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น การขาดทุนติดต่อกัน 20 ครั้งจากการเทรดด้วยเส้น Moving Average เพียงอย่างเดียวก็เกิดขึ้นได้อยากไม่ยากเย็นนัก
การซื้อขายติดต่อกันบ่อยๆ คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้หากใช้การเทรดแบบตัดขึ้นตัดลง เราคงไม่อยากเจอแบบนี้แน่ๆ เพราะมันคือไซด์เวย์
ต่อให้เราคุมความเสี่ยงที่ 2% ของพอร์ต โดนติดกัน 20 ครั้งก็ลบไปราวๆ 40% แล้วครับ นอกจากจะเสียเงินแล้ว จิตใจเทรดเดอร์ของเรายังถูกทำลายจนไม่เหลือชิ้นดี และการขาดทุนติดต่อกันรัวๆ มันสามารถทำให้เราเสียศูนย์ได้ง่ายกว่าที่คิด
เพราะคอนเซปของมันก็คือ ถ้าราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย มันย่อมมีโอกาสขึ้นมากกว่าลง และยิ่งเส้นค่าเฉลี่ยนั้นมีค่ามากเท่าไหร่ก็ตาม (เช่น คำนวณจากราคาปิดย้อนหลัง 200 วัน) มันก็เป็นอะไรที่ Strong Trend สุดๆ ยากที่ราคาหุ้นจะต่ำลงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยนั้นได้
ง่ายมั้ยครับ ? บอกเลยว่าง่ายถ้าเราดูแค่นี้ แต่ในการใช้งานจริง มันดันมีมากกว่านั้นเยอะ
1. เส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้แม่นอย่างที่คิด
จริงอยู่ที่ผลการทดสอบระบบการเทรดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว พบว่าในระยะยาวแล้วอาจได้กำไรสูงถึง 15% ต่อปีโดยเฉลี่ย แต่ย้ำครับว่าระยะยาว แน่นอนว่าในภาพสั้นๆ การขาดทุนย่อมมีโอกาสเกิดขึ้น ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น การขาดทุนติดต่อกัน 20 ครั้งจากการเทรดด้วยเส้น Moving Average เพียงอย่างเดียวก็เกิดขึ้นได้อยากไม่ยากเย็นนัก
การซื้อขายติดต่อกันบ่อยๆ คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้หากใช้การเทรดแบบตัดขึ้นตัดลง เราคงไม่อยากเจอแบบนี้แน่ๆ เพราะมันคือไซด์เวย์
ต่อให้เราคุมความเสี่ยงที่ 2% ของพอร์ต โดนติดกัน 20 ครั้งก็ลบไปราวๆ 40% แล้วครับ นอกจากจะเสียเงินแล้ว จิตใจเทรดเดอร์ของเรายังถูกทำลายจนไม่เหลือชิ้นดี และการขาดทุนติดต่อกันรัวๆ มันสามารถทำให้เราเสียศูนย์ได้ง่ายกว่าที่คิด
1 กุมภาพันธ์ 2559
อาถรรพ์แห่งกองทุนรวม
มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีมุมมองในเชิงบวกต่อกองทุนรวม ว่ามันเป็นอะไรที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการไปลงทุนเอง เพราะแต่ละกองต่างก็มีผู้จัดการกองทุนที่มากความสามารถ ผ่านการสอบมามากมาย จริงไหมครับ แถมกองทุนส่วนใหญ่ก็ซื้อได้ด้วยเงินที่ต่ำมาก
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีครับ อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น แต่อย่าลืม ในโลกของการลงทุนนั้น หากเราทำความรู้จักกับสินทรัพย์ชิ้นนั้นไม่มากพอ มันก็เกิดความเสี่ยงได้ แม้จะเป็นกองทุนรวมก็ตาม
อย่างแรก พอเวลาซื้อกองทุน เราจะดูจากอะไรเป็นหลักครับ ? ถ้าไม่นับซื้อกองทุนเพราะรู้จักกับผู้จัดการธนาคารสาขานั้น ร้อยทั้งร้อยก็ต้องดูผลตอบแทนย้อนหลัง ยิ่งสูงยิ่งดี ตรรกะง่ายๆ ที่ใครก็รู้
ระหว่างกองทุนแรกที่ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 15% กับกองทุนที่สองซึ่งอยู่ราวๆ 8% ต่อปี กองทุนแรกดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่เชื่อหรือไม่ ในระยะสั้นตัวเลขพวกนี้แทบช่วยอะไรไม่ได้เลย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)