18 มีนาคม 2558

VI เสี่ยงน้อยกว่าจริงอ่ะ ?

อืมนั่นสิ การลงทุนแบบเน้นคุณค่ามันเสี่ยงน้อยกว่า (หรือดีกว่า) จริงๆ เหรอ เท่าที่เราเห็นตามเว็บของตลาดหลักทรัพย์หรือเพจหุ้นสำหรับมือใหม่ มักจะแนะนำคล้ายกันเลยว่า หาหุ้นที่ ROE สูงต่อเนื่อง, ยอดขายโตต่อเนื่อง หรือกำไรโตต่อเนื่อง แล้วลงทุนกับมันสัก 10-20 ปี แค่นี้ก็เป็นเศรษฐีเหมือนบัฟเฟตต์หรือเซียนคนอื่นได้แล้ว !




ถ้าว่ากันตามเหตุผล ผมว่ามันถูกอยู่นะครับ เพราะถ้าเราเลือกหุ้นที่มีองค์ประกอบคร่าวๆ อย่างที่ผมบอกไป ราคาหุ้นก็สามารถขึ้นไปได้ 3-5 เท่าหากเราลงทุนด้วยระยะเวลาที่นานพอ

แต่ปัญหาหลักคือ ระยะเวลาที่เราเสียไปสิบปีเพื่อผลตอบแทน 3 เท่า เราจะทนต่อเสียงคนรอบข้างที่ทำกำไรได้ปีละ 50% ได้รึเปล่า เพราะผมว่าเวลาสิบปีกับเงินที่โตขึ้นสามเท่า มันไม่ได้มากเท่าไหร่เลยนะ (หุ้นหลายตัวตั้งแต่วิกฤติปี 2008 โตมากกว่า 5 เท่าด้วยซ้ำ ถึงขนาดที่เซียนคนนึงเคยบอกผมว่าไว้ว่าถ้าพอร์ตโตน้อยกว่า 5 เท่าแสดงว่าคุณแพ้ตลาด !) และอีกอย่างที่สำคัญคือ แนวทางการลงทุนที่เรียกว่า VI มันถูกกับจริตเรามากแค่ไหนกัน ?

สำหรับคำถามที่ว่าการลงทุนแบบ VI นั้นเสี่ยงน้อยกว่า ความเสี่ยงในที่นี้ไม่ได้มาจากราคาที่เข้าซื้อครับ แต่มันอยู่ที่การเลือกหุ้น


ไม่ใช่บอกว่าอยากซื้อ CPALL แล้วเป็นวีไอเลย มันไม่ใช่นะ มันต้องเหมือนตอนที่ดร.นิเวศน์ซื้อ CPALL ตอนที่เซเว่นมีแค่ 500 สาขาครับ คือมันไม่มีอะไรชัดเจนเลย เราอ่านเกมได้ขาดแค่ไหนเพื่อผลตอบแทนสิบเด้ง การที่เราซื้อหุ้น CPALL ตอนนี้ในขณะที่ทุกๆ คนต่างก็รู้ว่าราคามันเกินมูลค่าขนาดไหน มันก็ยากที่จะทำผลตอบแทนในระยะยาวแบบมหัศจรรย์ได้



ผมว่าภาพนี้สื่อความหมายได้ชัดเจนโคตรๆ เลยนะ 555+

หรืออย่างกรณีของ BGH (ตอนนี้เป็น BDMS แล้วนี่หว่า) ใครจะติดว่าธุรกิจโรงพยาบาลที่ในตอนแรกไม่มีใครสนกลับกลายเป็นหุ้นยอดนิยมของนักลงทุนสมัยนี้ นี่แหละคือความหมายของการมองให้ขาด ลงทุนในหุ้นที่ยังไม่มีใครสนใจ แต่เมื่อถึงจุดนึงที่ทุกคนเห็นค่ามัน มันก็ดังเป็นพลุแตก แต่ใครล่ะที่จะกล้าในเวลาที่คนอื่นกลัวได้จริงๆ

ความเสี่ยงข้อสองคือ จุดขายออก ผมว่าจุดเข้าซื้อไม่ได้เป็นอะไรที่เสี่ยงมากนะแถมวิธีการจุดเข้าซื้อก็มีหลายวิธีมากๆ แต่การขายนี่สิเรื่องใหญ่กว่า เพราะมันคือจุด Take Profit แต่จุดไหนล่ะที่เป็นจุดที่เหมาะสม ? เพราะบางทีเราขายหุ้นชั้นยอดเพียงเพราะราคามันเกินมูลค่า แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ไปต่ออีกเท่าสองเท่าซะหน่อย

และความเสี่ยงข้อสุดท้ายนั่นคือ.. จะใช้คำพูดว่าอะไรดีล่ะ ประมาณว่าสมมติเราขุดคุ้ยบริษัทแห่งนึงจนรู้แล้วว่ามันมีมูลค่าซ่อนอยู่มหาศาล เช่นหากตอนนี้ราคาหุ้นอยู่ที่ 10 บาท แต่เราพบว่ามูลค่าที่แท้จริงมันคือ 15 บาท ถึงมันจะมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยถึง 50% ก็จริง แต่ถ้าเสียงคนส่วนใหญ่ในตลาดไม่เห็นค่าเหมือนที่เราเห็นล่ะ หุ้นมันก็ย่ำอยู่กับที่ไม่ไปไหนน่ะสิ !

อ๊ะๆ ถึงแม้ผมจะเขียนมาซะยาวยืดกว่าการลงทุนแบบ VI มันเสี่ยงและอันตรายมากกว่าที่เราเคยฝันไว้ แต่ข้อดีของการลงทุนแบบนี้มีเยอะเลยเหมือนกันนะครับ อย่างแรกคือกระแสเงินสดที่ได้รับจากเงินปันผลในช่วงเวลาที่เราถือหุ้น ซึ่งนี่คือสิ่งที่การเทรดมันให้ไม่ได้เลย (เพราะการเทรดเน้น Capital Gain เป็นหลัก) รวมถึงอีกข้อดีมากๆ ที่ผมชอบคือ มันตัดความผันผวนในระยะสั้นได้ออกไปเยอะมาก นั่นหมายความว่าอารมณ์ของเราก็จะไม่ขึ้นลงตามราคาหุ้นที่เหวี่ยงนั่นเอง




แล้วการลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐานมันเหมาะกับใครบ้าง ? บางคนอาจคิดว่ามันเหมาะกับคนที่มีเงินเยอะเท่านั้นรึเปล่า เพราะคนมีเงินสักสิบล้านมันก็ยากที่จะเข้าๆ ออกๆ หุ้นตัวนู้นตัวนี้ ผมคิดว่าไม่เสมอไปนะครับ คนมีเงินน้อยก็สามารถลงทุนระยะยาวได้เหมือนกัน เพียงแต่ติดนิดนึงตรงที่เงินเราน้อยอาจจะได้ผลตอบแทนไม่สมน้ำสมเนื้อ ตรงนี้เราก็ต้องมานั่งแก้แล้วว่าจะเอาเงินจากไหนมาเติม ผมว่าการทยอยซื้อหุ้นเพิ่มไปเรื่อยๆ (DCA) ก็เป็นอีกทางเลือกที่ใช้ได้เลย

แต่ทั้งหมดที่ผมเล่ามา สุดท้ายมันก็อยู่ที่ตัวบุคคลอยู่ดีนะ ผมเน้นย้ำทุกๆ คนเสมอถ้ามีโอกาส ว่า "อย่าโง่แบบผม" เพราะในตอนแรกที่ผมเข้าสู่สนามแห่งการลงทุน ผมใช้พื้นฐานเป็นหลักและเกลียดเทคนิคเข้าไส้ครับ นั่นทำให้ผมพลาดการทำกำไรไปเยอะเลยทีเดียว

เน้นย้ำอีกครั้งว่าควรเรียนทั้งสองอย่าง ทั้งพื้นฐานและเทคนิค เพราะไม่มีใครรู้ว่าคนที่เรียนงบการเงินมาอาจใช้เทคนิคเป็นชีวิตจิตใจ หรือคนที่เป็นนักพนันตัวยงอาจแกะงบทั้งวี่ทั้งวันก็ได้

ขึ้นชือว่าหุ้นมันก็ไม่มีอะไรที่แน่นอนหรือไม่เสี่ยงอยู่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น