"ขาดทุนไปตั้ง 20% แหน่ะ ไม่เอาให้ Floor ไปเลย (วะ)" นี่อาจเป็นสิ่งที่หลายๆ คนกำลังคิด หรือถ้าคนที่เข้าซื้อหุ้นตัวนี้ด้วยเงิน 1,000,000 บาท ก็อาจจะคิดประมาณว่า "รู้งี้ไม่น่าซื้อเลย เงิน 2 แสนซื้ออะไรกินได้ตั้งเยอะแยะ"
แต่ถ้าผมเปลี่ยนแปลงอะไรนิดหน่อย แทนที่วันนี้ราคาหุ้นจะเหลือ 8 บาท แต่มันกลับขึ้นไปเป็น 13 บาท ! ผลตอบแทน 30% ในวันเดียวช่างเป็นอะไรที่เย้ายวนใจมาก (Ceiling นั่นเอง) ผมถามเหมือนเดิมครับ รู้สึกยังไงบ้างล่ะ ?
"ทำไมเราเก่งจัง ซื้อปุ๊ปลิ่งปั๊ป", "อาจเป็นเพราะโชคช่วยแหละน่า", "ดีใจจัง เรามีฝีมือพอตัวเลยนะเนี่ย" และอีกสารพัดความคิด แต่เราสังเกตเห็นอะไรรึเปล่า ? ผมเองเชื่อว่าแทบทุกคนจะไม่คิดว่าผลกำไรที่ทำได้จากหุ้นมันจะมีผลในชีวิตประจำวันสักเท่าไหร่เลย
มันประหลาดก็ตรงที่.. คิดดูสิครับ แม้เราจะทำเงินได้มากในตลาดก็ตาม กลับมีไม่กี่คนที่จะฉุกคิดว่าเงินจำนวนนี้มันส่งผลดีกับชีวิตเรามากแค่ไหน แต่พอเวลาขาดทุนเท่านั้นแหละ เรากลับเสียดายและเอาไปเปรียบเทียบว่าเป็นสิ่งของให้้ช้ำใจเล่น ทั้งๆ ที่การทำแบบนี้มีแต่จะทำให้เสียกำลังใจซะเปล่า
แถมผลเสียที่ร้ายแรงที่สุด มันจะทำให้เราเป็นคนที่ "ใส่ใจ" กับการขาดทุน แปลกๆ มั้ยครับ ? แต่นี่ล่ะคือสิ่งคนส่วนใหญ่กำลังเป็น (และเป็นโรคที่แพร่ได้ง่ายซะด้วย) ยิ่งเราใส่ใจถึงการขาดทุนมากเท่าไหร่ มันก็มีโอกาสสูงที่ในการเทรดครั้งต่อไปเราจะขาดทุนจริงๆ มากขึ้นเท่านั้น
แต่ในที่นี้เราเองก็ต้องแยกให้ออกด้วย ระหว่างคำว่า "เลิกใส่ใจ" กับ "ละเลย" การขาดทุน เพราะถึงแม้การเสียเวลาให้กับผลขาดทุนที่เคยเกิดขึ้นจะเป็นเรื่องที่ดูเสียเวลา แต่เราอย่าลืมว่าการศึกษาอดีตที่ผิดพลาดมันก็มีประโยชน์ในตัวเหมือนกัน คือเราจะได้ไม่ทำมันซ้ำอีก
ซึ่งในขณะเดียวกัน เราก็ต้องให้ความสนใจมากกว่ากับการทำกำไรด้วย ไม่ใช่เอาแต่พะวงหลังมากเกินไป อดีตมันมีค่าเพียงแค่ให้เรียนรู้ แต่ไม่ได้มีค่ามากพอให้จดจำสักหน่อย จริงมั้ยครับ
มันมีคำพูดนึงที่ผมเคยอ่านเจอในหนังสือพ่อรวยสอนลูกที่บอกเอาไว้ว่า "เราเจอศัตรูที่น่ากลัวที่สุดแล้ว มันคือตัวเราเอง" ดูท่าจะจริงก็วันนี้แหละ
คนเล่นหุ้นเป็นโรคซึมเศร้าครับ....แต่ถ้าเรียนรู้แล้วเข้าใจมันว่า เป็นกลไกของตลาดมีขึ้นลง มันก็จะไม่รู้สึกอะไรครับ สำคัญสุดคือต้องเป็นเงินที่เป็นส่วนเกินหรือเงินเย็นมาเล่นครับ Money Management ดีๆ ก็สบาย... :-)
ตอบลบใช่เลยครับ ^^
ลบ